ผู้เขียน หัวข้อ: บริหารจัดการอาคาร: วิธีเช็กจุดน้ำรั่ว ท่อแตกภายในบ้านแบบง่ายๆ ด้วยตัวเอง  (อ่าน 5 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 267
  • ลงประกาศฟรี ลงโฆษณาฟรี โปรโมทสินค้าฟรี ซื้อ ขาย เช่า บริการ ลด แหล่งรวม ลงประกาศฟรี ลงโฆษณาฟรี โปรโมทสินค้าฟรี ซื้อ ขาย เช่า บริการ
    • ดูรายละเอียด
เชื่อว่าหลายๆ คนคงเคยประสบปัญหามีท่อประปาแตกรั่วแต่กลับไม่สามารถมองเห็นได้ ดังนั้นเราควรรู้วิธีตรวจสอบการแตกรั่วของท่อและอุปกรณ์ประปาภายในบ้านด้วยวิธีเหล่านี้

    ปิดก๊อกน้ำทุกจุดในอาคาร สังเกตดูหน้าปัดมาตรวัดน้ำ หากมีการเคลื่อนไหวของตัวเลขแสดงว่ามีการแตกรั่วของท่อและอุปกรณ์เกิดขึ้น
    ตรวจดูก๊อกน้ำ ฝักบัว เครื่องซักผ้า ทุกตัว หากพบว่าเมื่อปิดสนิทไม่มีการใช้น้ำแต่ยังมีน้ำรั่วซึมออกมาให้รีบทำการซ่อมแซมทันที
    ใส่สารย้อมผ้าลงในถังพักน้ำของโถชักโครกแล้วสังเกตดู หากมีน้ำสีย้อมผ้าไหลลงโถชักโครก แสดงว่ามีปัญหาการรั่วไหลของ ตัวปิด-เปิดน้ำชักโครก ควรรีบทำการซ่อมแซมทันที
    หากพบว่ามีน้ำเปียกนองอยู่ตลอดเวลาที่พื้นข้างอาคาร หรือมีน้ำผุดให้เห็น แสดงว่ามีการแตกรั่ว ของท่อประปาในบริเวณนั้น

ข้อแนะนำที่จะให้ผู้ใช้น้ำสามารถตรวจสอบการแตกรั่วของระบบประปาในอาคารได้โดยสะดวก และสามารถเห็นได้ง่ายยิ่งขึ้นหากมีการรั่วไหลก็คือการวางท่อประปาและอุปกรณ์ประปาต่าง ๆ ไว้เหนือพื้นดิน ที่ไม่ให้น้ำท่วมถึงได้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ของอาคารสถานที่นั้นด้วย เท่ากับเป็นการประหยัดเงิน ไม่ปล่อยให้รั่วไหลไปตามน้ำ



ปัญหาท่อน้ำรั่วซึมในคอนโดฯ แก้ปัญหาอย่างไร ใครต้องจ่าย

จากระบบประปา ระบบสุขาภิบาล ภายในห้องชุดคอนโดฯ และส่วนกลางของอาคารชุดนั้น มักเป็น ท่อ PVC ปัญหาที่มักจะเกิดขึ้นก็คือน้ำรั่วซึมจากท่อน้ำประปา ส่งผลโดยตรงต่อฝ้าเพดานภายในห้องชุด รวมถึงพื้นที่ส่วนกลางของอาคารชุด และสิ่งที่ตามมาก็คือน้ำที่รั่วซึมออกมานั้น สร้างความเสียหายให้กับทรัพย์สินภายในห้องชุดของคุณ กลายเป็นปัญหาให้เจ้าของห้องชุดต้องปวดหัวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ปัญหานี้เกิดขึ้นได้บ่อยครั้ง สาเหตุมาจากหลายประการด้วยกัน เช่น เจ้าของห้องบางห้อง อาจลืมปิดก๊อกน้ำ เจ้าหน้าที่ส่วนกลางลืมปิดปั๊มน้ำของอาคารชุดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของระบบ ส่งผลต่อระบบแรงดันน้ำ หรือข้อต่อ รอยต่อของท่อส่วนกลางเสื่อมสภาพ รั่วหรือแตก เป็นต้น

การแก้ไขปัญหาดังกล่าวขั้นแรก เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนของเจ้าของร่วม ก็ต้องดูว่าอะไรเป็นสาเหตุ ความเสียหายเกิดจากส่วนไหน ใครต้องเป็น ผู้รับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น

วิธีปฏิบัติในเบื้องต้นหากเกิดน้ำรั่วภายในห้องชุดของท่าน ท่านต้องรีบแจ้งให้เจ้าหน้าที่นิติบุคคลอาคารชุดของท่านทราบในทันที เพื่อเข้ามาช่วยดูและพิจารณาร่วมกันว่าน้ำที่รั่วเกิดจากสาเหตุใด และจะรับผิดชอบ กันอย่างไร

แต่ในบางกรณีก็เป็นการยากที่จะขีดเส้นแบ่งว่า น้ำที่รั่วเกิดจากทรัพย์ส่วนบุคคลของห้องชุดห้องไหน (แต่หากพิสูจน์ได้เจ้าของห้องชุดนั้นก็จะต้องรับผิดชอบ) หรือหากเหตุเกิดจากทรัพย์ส่วนกลาง ซึ่งนิติบุคคลอาคารชุดก็จะต้องรับผิดชอบ และต้องนำเงินค่าส่วนกลางของเจ้าของรวม มาปรับปรุง ซ่อมแซม ซึ่งอาจต้องทำการรื้อกำแพง หรือพื้นเพื่อเดินท่อใหม่

ปัญหาเรื่องของท่อน้ำที่เกิดการรั่วซึมนั้น จึงควรปรับปรุง หรือเปลี่ยนระบบท่อจาก ท่อ PVC เป็น ท่อที่สามารถรับแรงดันได้ดี เชื่อมเป็นเนื้อเดียวกัน ไม่มีวันรั่ว อายุการใช้งานยาวนานกว่า 50 ปี

ทั้งนี้ในส่วนของเรื่องค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น จากการดำเนินงาน หากอาคารชุดของท่านมีงบประมาณเพียงพอ ก็นำงบประมาณดังกล่าวมาทำการซ่อมแซมพัฒนาปรับปรุง แต่หากไม่มีงบประมาณในการดำเนินงานคงต้องนำเรื่องนี้บรรจุในวาระการประชุมใหญ่เจ้าของร่วมประจำปี เพื่อให้เจ้าของร่วมอาคารชุดทุกท่าน ช่วยกันชำระเพิ่มจากงบประมาณส่วนกลางกับปัญหาที่เกิดขึ้น ดังนั้นก่อนเลือกซื้ออาคารชุด หรือที่พักอาศัย ควรถามสักคำว่า “ใช้ท่อน้ำอะไร”


บริหารจัดการอาคาร: วิธีเช็กจุดน้ำรั่ว ท่อแตกภายในบ้านแบบง่ายๆ ด้วยตัวเอง อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://snss.co.th/dt_post/technical-services/