ผู้เขียน หัวข้อ: พระคาถารัตนมาลา(อิติปิโส)  (อ่าน 77 ครั้ง)

anyaha

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 46
  • ลงประกาศฟรี ลงโฆษณาฟรี โปรโมทสินค้าฟรี ซื้อ ขาย เช่า บริการ ลด แหล่งรวม ลงประกาศฟรี ลงโฆษณาฟรี โปรโมทสินค้าฟรี ซื้อ ขาย เช่า บริการ
    • ดูรายละเอียด
พระคาถารัตนมาลา(อิติปิโส)
« เมื่อ: วันที่ 23 กันยายน 2024, 06:13:57 น. »
พระคาถารัตนมาลา(อิติปิโส)
บาลีแสดงคุณพระรัตนตรัยที่เราท่องขึ้นปากและสวดกันอยู่ทั่วไป ส่วนพระพุทธคุณคือ อิติปิโส ภควา ฯลฯ ส่วนพระธรรมคุณคือ สวากขาโต ฯลฯ ส่วนพระสังฆคุณคือ สุปฏิปันโน ฯลฯ การสวดมักสวดจนจบทั้ง ๓ ส่วนเสมอคือ ขึ้นอิติปิโส ไปจบ ปุญญักเขตตัง ฯ ภาษาปากไทยจึงเรียกง่ายๆว่า สวดอิติปิโสตามคำขึ้นต้น แล้วในที่สุดคำว่า อิติปิโส จึงกลายเป็นคำที่คนทั้งหลายรู้จักดีกว่าจะเรียกอย่างอื่น อิติปิโส คำเดียว หมายรวมทั้งพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณเลยทีเดียว

อิติปิโส นี้มีนักปราชญ์เล่นกันมาก (คำว่าเล่นในที่นี้หมายความว่าสนใจคิดค้นจนเกิดความชำนิชำนาญในด้านต่างๆ ที่จะผูกใจไว้กับอิติปิโส เช่น สามารถสวดอิติปิโสถอยหลังได้ฉับๆ อย่างกับว่าเล่น และยักเยื้องอักขระของอิติปิโสเรียงไปในรูปต่างๆ แล้วท่องจนว่าได้ฉับๆเป็นว่าเล่น) นานมาแล้ว มีท่านผู้หนึ่ง (หรือหลายท่านก็ไม่ทราบแน่) ไม่ปรากฏนาม เล่นถอดอักขระอิติปิโสออกได้ พระพุทธคุณเต็ม ๕๖ อักขระ พระธรรมคุณเต็ม ๓๘ อักขระ พระสังฆคุณสังเขป ๑๔ อักขระ รวมเป็น ๑๐๘ อักขระ ใช่แต่เท่านั้น ยังเล่นแต่งคาถาพรรณนาคุณพระรัตนตรัย โดยถือเอาอักขระ ๑๐๘ ที่ถอดได้นั้นเป็นต้นบท สุดแต่จะให้เป็นศัพท์ปลได้ตามความประสงค์ คาถา ละอักขระ จึงเป็นคาถาพรรณนาคุณพระรัตนตรัยถึง ๑๐๘ คาถา ให้ชื่อว่า “อิติปิโสรัตนมาลา” คงหมายความว่า อิติปิโสคือคุณพระรัตนตรัยที่แจกออกไปตามอักขระ แล้วร้อยกรองเข้าไว้ด้วยกันดุจพวงมาลาฉะนั้น

อิติปิโสรัตนมาลา ๑๐๘ คาถา มีมาแต่โบราณกาล สืบทอดกันมาหลายสำนวน หลายฉบับ บางฉบับเขียนเล่าไว้ว่า พระอาจารย์หลายท่านช่วยกันแต่ง จารึกไว้ในแผ่นศิลา แล้วนำมาแช่ไว้ในสระหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีหลายท่านทรงจำไว้ได้ มากบ้างน้อยบ้างสืบๆกันมา

ตั้ง นะโมฯ ๓ จบ
พระพุทธคุณ ๕๖
"อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมา สัมพุทโธ  วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ"

๑. อิ. อิฏโฐ สัพพัญญุตัญญานัง อิจฉันโต อาสะวักขะยัง อิฏฐัง ธัมมัง อะนุปปัตโต อิทธิมันตัง นะมามิหัง

๒. ติ. ติณโณ โย วัฏฏะทุกขัมหา ติณณัง โลกานะมุตตะโม ติสโส ภูมี อะติกกันโต ติณณะโอฆัง นะมามิหัง

๓. ปิ. ปิโย เทวะมะนุสสานัง ปิโยพรหมานะมุตตะโม ปิโย นาคะสุปัณณานัง ปิณินทริยัง นะมามิหัง

๔. โส. โสกา วิรัตตะจิตโต โย โสภะนาโม สะเทวะเก โสกัปปัตเต ปะโมเทนโต โสภะวัณณัง นะมามิหัง

๕. ภะ. ภะชิตา เยนะ สัทธัมมา ภัคคะปาเปนะ ตาทินา ภะยะสัตเต ปะหาเสนโต ภะยะสันตัง นะมามิหัง

๖. คะ. คะมิโต เยนะ สัทธัมโม คะมาปิโต สะเทวะกัง คัจฉะมาโน สิวัง รัมมัง คะตะธัมมัง นะมามิหัง

๗. วา. วานา นิกขะมิ โย ตัณหา วาจัง ภาสะติ อุตตะมัง วานะ นิพพาปะ นัตถายะ วายะมันตัง นะมามิหัง

๘. อะ. อะนัสสา สะกะสัตตานัง อัสสาสัง เทติ โย ชิโน อะนันตะคุณะสัมปันโน อันตะคามิง นะมามิหัง

๙. ระ. ระโต นิพพานะสัมปัตเต ระโต โย สัตตะโมจะเน รัมมาเปตีธะ สัตเต โย ระณะจัตตัง นะมามิหัง

๑๐. หัง. หัญญะติ ปาปะเก ธัมเม หังสาเปติ ปะรัง ชะนัง หังสะมานัง มะหาวีรัง หันตะปาปัง นะมามิหัง

๑๑. สัม. สังขะตาสังขะเต ธัมเม สัมมา เทเสสิ ปาณินัง สังสารัง สังวิฆาเฏติ สัมพุทธันตัง นะมามิหัง

๑๒. มา. มาตาวะ ปาลิโต สัตเต มานะถัทเธ ปะมัททิโต มานิโต เทวะสังเฆหิ มานะฆาฏัง นะมามิหัง

๑๓. สัม. สัญจะยัง ปาระมี สัมมา สัญจิตะวา สุขะมัตตะโน สังขารานัง ขะยัง ทิสวา สันตะคามิง นะมามิหัง

๑๔. พุท. พุชฌิตวา จะตุสัจจานิ พุชฌาเปติ มะหาชะนัง พุชฌาเปนตัง สิวัง มัคคัง พุทธะเสฏฐัง นะมามิหัง

๑๕. โธ. โธติ ราเค จะ โทเส จะ โธติ โมเห จะ ปาณินัง โธตะเกลสัง มะหาปุญญัง โธตาสะวัง นะมามิหัง

๑๖. วิช. วิเวเจติ อะสัทธัมมา วิจิตะวา ธัมมะเทสะนัง วิเวเก ฐิตะจิตโต โย วิทิตันตัง นะมามิหัง

๑๗. ชา. ชาติธัมโม ชะราธัมโม ชาติอันโต ปะกาสิโต ชาติเสฏเฐนะ พุทเธนะ ชาติมุตตัง นะมามิหัง

๑๘. จะ. จะเยติ ปุญญะสัมภาเร จะเยติ สุขะสัมปะทัง จะชันตัง ปาปะกัมมานิ จะชาเปนตัง นะมามิหัง

๑๙. ระ. ระมิตัง เยนะ นิพพานัง รักขิตา โลกะสัมปะทา ระชะโทสาทิเกลเสหิ ระหิตันตัง นะมามิหัง

๒๐. ณะ. นะมิโตเยวะ พรหเมหิ นะระเทเวหิ สัพพะทา นะทันโต สีหะนาทัง โย นะทันตัง ตัง นะมามิหัง

๒๑. สัม. สังขาเร ติวิเธ โลเก สัญชานาติ อะนิจจะโต สัมมา นิพพานะสัมปัตติ สัมปันโน ตัง นะมามิหัง

๒๒.ปัน. ปะกะโต โพธิสัมภาเร ปะสัฏโฐ โย สะเทวะเก ปัญญายะ อะสะโม โหติ ปะสันนัง ตัง นะมามิหัง

๒๓. โน. โน เทติ นิระยัง คันตุง โน จะ ปาปัง อะการะยิ โน สะโม อัตถิ ปัญญายะ โนนะธัมมัง นะมามิหัง

๒๔. สุ. สุนทะโร วะระรูเปนะ สุสะโร ธัมมะภาสะเน สุทุททะสัง ทิสาเปติ สุคะตันตัง นะมามิหัง

๒๕. คะ. คัจฉันโต โลกิยา ธัมมา คัจฉันโต อะมะตัง ปะทัง คะโต โส สัตตะโมเจตุง คะตัญญาณัง นะมามิหัง

๒๖. โต. โตเสนโต วะระธัมเมนะ โตสัฏฐาเน สิเว วะเร โตสัง อะกาสิ ชันตูนัง โตละจิตตัง นะมามิหัง

๒๗. โล. โลเภ ชะหะติ สัมพุทโธ โลกะเสฏโฐ คุณากะโร โลเภ สัตเต ชะหาเปติ โลภะสันตัง นะมามิหัง

๒๘. กะ. กันโต โย สัพพะสัตตานัง กัตวา ทุกขักขะยัง ชิโน กะเถนโต มะธุรัง ธัมมัง กะถาสัณหัง นะมามิหัง

๒๙. วิ. วินะยัง โย ปะกาเสติ วิทธังเสตวา ตะโย ภะเว วิเสสัญญาณะสัมปันโน วิปปะสันนัง นะมามิหัง

๓๐. ทู. ทูเส สัตเต ปะหาเสนโต ทูรัฏฐาเน ปะกาสะติ ทูรัง นิพพานะมาคัมมะ ทูสะหันตัง นะมามิหัง

๓๑. อะ. อันตัง ชาติชะราทีนัง อะกาสิ ทิปะทุตตะโม อะเนกุสสาหะจิตเตนะ อัสสาเสนตัง นะมามิหัง

๓๒. นุต. นุเทติ ราคะจิตตานิ นุทาเปติ ปะรัง ชะนัง นุนะ อัตถัง มะนุสสานัง นุสาสันตัง นะมามิหัง

๓๓. ตะ. ตะโนติ กุสะลัง กัมมัง ตะโนติ ธัมมะเทสะนัง ตัณหายะ วิจะรันตานัง ตัณหาฆาฏัง นะมามิหัง

๓๔. โร. โรเสนโต เนวะ โกเปติ โรเสเหวะ นะ กุชฌะติ โรคานัง ราคะอาทีนัง โรคะหันตัง นะมามิหัง

๓๕. ปุ. ปุณันตัง อัตตะโน ปาปัง ปุเรนตัง ทะสะปาระมี ปุญญะวันตัสสะ ราชัสสะ ปุตตะภูตัง นะมามิหัง

๓๖. ริ. ริปุราคาทิภูตัง วะ ริทธิยา ปะฏิหัญญะติ ริตตัง กัมมัง นะ กาเรตา ริยะวังสัง นะมามิหัง

๓๗. สะ. สัมปันโน วะระสีเลนะ สะมาธิปะวะโร ชิโน สะยัมภูญาณะสัมปันโน สัณหะวาจัง นะมามิหัง

๓๘. ทัม. ทันโต โย สะกะจิตตานิ ทะมิตะวา สะเทวะกัง ทะทันโต อะมะตัง เขมัง ทันตินทริยัง นะมามิหัง

๓๙. มะ. มะหุสสาเหนะ สัมพุทโธ มะหันตัง ญาณะมาคะมิ มะหิตัง นะระเทเวหิ มะโนสุทธัง นะมามิหัง

๔๐. สา. สารัง เทตีธะ สัตตานัง สาเรติ อะมะตัง ปะทัง สาระถี วิยะ สาเรติ สาระธัมมัง นะมามิหัง

๔๑. ระ. รัมมะตาริยะสัทธัมเม รัมมาเปติ สะสาวะกัง รัมเม ฐาเน วะสาเปนตัง ระณะหันตัง นะมามิหัง

๔๒. ถิ. ถิโต โย วะระนิพพาเน ถิเร ฐาเน สะสาวะโก ถิรัง ฐานัง ปะกาเสติ ถิตัง ธัมเม นะมามิหัง

๔๓. สัต. สัทธัมมัง เทสะยิตวานะ สันตะนิพพานะปาปะกัง สะสาวะกัง สะมาหิตัง สันตะจิตตัง นะมามิหัง

๔๔. ถา. ถานัง นิพพานะสังขาตัง ถาเมนาธิคะโต มุนิ ถาเน สัคคะสิเว สัตเต ถาเปนตัง ตัง นะมามิหัง

๔๕. เท. เทนโต โย สัคคะนิพพานัง เทวะมะนุสสะปาณินัง เทนตัง ธัมมะวะรัง ทานัง เทวะเสฏฐัง นะมามิหัง

๔๖. วะ. วันตะราคัง วันตะโทสัง วันตะโมหัง อะนาสะวัง วันทิตัง เทวะพรหเมหิ มะหิตันตัง นะมามิหัง

๔๗. มะ. มะหะตา วิริเยนาปิ มะหันตัง ปาระมิง อะกา มะนุสสะเทวะพรหเมหิ มะหิตันตัง นะมามิหัง

๔๘. นุส. นุนะธัมมัง ปะกาเสนโต นุทะนัตถายะ ปาปะกัง นุนะ ทุกขาธิปันนานัง นุทาปิตัง นะมามิหัง

๔๙. สา. สาวะกานังนุสาเสติ สาระธัมเม จะ ปาณินัง สาระธัมมัง มะนุสสานัง สาสิตันตัง นะมามิหัง

๕๐. นัง. นันทันโต วะระสัทธัมเม นันทาเปติ มะหามุนิ นันทะภูเตหิ เทเวหิ นันทะนียัง นะมามิหัง

๕๑. พุท. พุชฌิตาริยะสัจจานิ พุชฌาเปติ สะเทวะกัง พุทธะญาเณหิ สัมปันนัง พุทธัง สัมมา นะมามิหัง

๕๒. โธ. โธวิตัพพัง มะหาวีโร โธวันโต มะละมัตตะโน โธวิโต ปาณินัง ปาปัง โธตะเกลสัง นะมามิหัง

๕๓. ภะ. ภะยะมาปันนะสัตตานัง ภะยัง หาเปติ นายะโก ภะเว สัพเพ อะติกกันโต ภะคะวันตัง นะมามิหัง

๕๔. คะ. คะหิโต เยนะ สัทธัมโม คะตัญญาเณนะ ปาณินัง คะหะณิยัง วะรัง ธัมมัง คัณหาเปนตัง นะมามิหัง

๕๕. วา. วาปิตัง ปะวะรัง ธัมมัง วานะโมกขายะ ภิกขุนัง วาสิตัง ปะวะเร ธัมเม วานะหันตัง นะมามิหัง

๕๖. ติ. ติณโณ โย สัพพะปาเปหิ ติณโณ สัคคา ปะติฏฐิโต ติเร นิพพานะสังขาเต ติกขะญาณัง นะมามิหัง

ฉัปปัญญาสะ พุทธะคาถา พุทธะคุณา สุคัมภิรา เอเตสะมานุภาเวนะ โสตถิ เม โหตุ สัพพะทา.

anyaha

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 46
  • ลงประกาศฟรี ลงโฆษณาฟรี โปรโมทสินค้าฟรี ซื้อ ขาย เช่า บริการ ลด แหล่งรวม ลงประกาศฟรี ลงโฆษณาฟรี โปรโมทสินค้าฟรี ซื้อ ขาย เช่า บริการ
    • ดูรายละเอียด
Re: พระคาถารัตนมาลา(อิติปิโส)
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: วันที่ 23 กันยายน 2024, 06:14:58 น. »
อธิษฐานบารมี คําว่าอธิษฐาน เป็นคุณธรรม


คุณธรรม หมายถึง ทําแล้วดี มีคุณ มีประโยชน์ ถ้าทําได้ แล้วจะสั่งสมในใจเกิดเป็นบารมี - อธิษฐาน คือ ตั้งใจไว้เพื่อจุดประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง ตั้งความปรารถนาไว้ เรียกว่า อธิษฐาน อธิษฐานอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ อธิษฐานหลายอย่างก็ได้ ยกตัวอย่าง เช่น พระนางเขมาซึ่งเป็นมเหสีรองของพระเจ้า พิมพิสารในอดีตท่านอธิษฐานไว้ให้ได้เป็นพุทธสาวิกา หนึ่งอย่าง และอธิษฐานให้มีความยอดเยี่ยม (เอตทัคคะ) ทางด้านปัญญา ด้วย พอหลังจากได้ปฏิบัติธรรมสําเร็จเป็นอรหันต์ ได้เป็น พุทธสาวิกาจริง และมีปัญญาเป็นเลิศจริง นี่อธิษฐานสองอย่าง ก็ได้ พระอานนท์อธิษฐาน ๕ อย่าง สุดแท้แต่ใครจะอธิษฐาน มากหรือน้อย
ไม่ต้องดูใคร ดูที่อดีตของพระนางพิมพา (ยโสธรา) ตอน ที่นางเจอพระพุทธเจ้าทีปังกร (พระพุทธเจ้ามีมาหลายองค์แล้ว ก่อนพระพุทธเจ้าทีปังกรก็มี) ตอนนั้นนางมีชื่อว่าสุมิตตาไป เจอสุเมธฤาษี พระพุทธเจ้าทีปังกรเสด็จผ่านในบริเวณที่มีหลุม โคลนเฉอะแฉะ สุเมธฤาษีเอาตัวทาบลงนอนให้พระพุทธเจ้า และสาวกเดินผ่านนางรู้ทันทีเลยว่าสุเมธฤาษีปรารถนาพุทธภูมิ นางจึงอธิษฐานให้ได้เป็นบาทบริจาริกาจากพระพุทธเจ้าทีปังกร มาจนถึงพระพุทธโคดม ผ่านพระพุทธเจ้ามา ๒๕ พระองค์ นาง อธิษฐานเรื่องยาก ถ้าอธิษฐานให้สําเร็จอรหันต์จะง่ายกว่า อธิษฐานเป็นโสดาบันบุคคลง่ายกว่า อธิษฐานให้มีดวงตาเห็น ธรรมง่ายกว่า ตั้งปรารถนาเพื่อสําเร็จสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เมื่อเราตั้งใจแล้ว คิดแล้ว มันก็ได้สั่งสมในใจ เป็นอธิษฐานบารมี บารมี เป็นธรรมะที่ทําให้เป็นเลิศ ใครมีบารมีคนนั้นเป็น เลิศได้ หรือหมายถึงคุณสมบัติที่ทําให้ยิ่งใหญ่ ตอนนี้จะถาม ว่าทุกคนที่เกิดมาเป็นมนุษย์ได้มีบารมีหรือไม่? ตอบว่าต้องมี ต้องมีบารมีจึงจะเกิดเป็นมนุษย์ แต่จะมีมากมีน้อยเป็นอีก เรื่องหนึ่ง แต่ทุกคนต้องมีบารมีชาวธิเบตบอกว่าบารมีหมายถึง ธรรมะที่ทําให้ถึงฝั่ง คือมีบารมีจึงจะเข้านิพพานได้ เพราะฉะนั้น อธิษฐานเป็นบารมีตัวหนึ่ง บารมีเกิดขึ้นได้อย่างไร

 เกิดจากการคิด การพูด การกระทําของเราเอง คุณธรรม ๑๐ ตัว เมื่อคิดพูดทําแล้วจะสั่งสมเป็นบารมี

๑. ทานคือการให้
ให้อะไรก็แล้วแต่ การให้เป็นสิ่งดี ถ้าให้ไม่ดีไม่ใช่บารมี จะให้วัตถุเป็นทาน ให้อภัยเป็นทาน ให้ปัญญาเป็นทาน ให้ โอกาสเป็นทาน ทานต่างๆ เหล่านี้เมื่อทําแล้ว จะสั่งสมในใจ ของผู้กระทํา เกิดเป็นบารมี
๒. ศีล
เป็นฆราวาสแค่ศีล ๕ ข้อก็พอ คําว่าศีล ๕ ข้อ เพียงแค่รู้ อย่างเดียวแต่ไม่มีศีลก็ไม่ได้ คําว่าศีล ๕ ใครศึกษาอภิธรรมจะ บอกว่า เป็นเครื่องที่สํารวมกายกับวาจา แต่ถ้าเป็นนักปฏิบัติ แล้วศีลทั้ง ๕ ข้อ ไม่คุมใจปฏิบัติไม่ได้มรรคผล ศีลต้องคุมใจ ลึกถึงใจทุกขณะตื่น เรามีศีล ๕ อยู่ในใจ ไม่ใช่แค่ศีล ๕ ข้อ ยังหยาบไป จะให้ปฏิบัติธรรมได้เร็ว ต้องมีกุศลกรรมบท ๑๐ ฟังดูแล้วมันยาก อธิบายง่ายๆ ว่าคือศีล ๕ นั้นแหละ เพียง แต่ว่ากายเป็นศีล หากมีกายเป็นศีลคือ
• ไม่ฆ่า ไม่เบียดเบียน
อย่างไข้หวัดนกระบาดแล้ว ฆ่าไก่เราเห็นในจอโทรทัศน์ เขาทําบาป มันเรื่องของเขานะ ไม่ใช่เรื่องของเรา ถ้าเราเห็นดี ด้วยปฏิบัติธรรมไม่ขึ้นหรอก เขาทํามันเรื่องของเขา เราต้องไม่ เห็นดีด้วย เพราะเขาเบียดเบียน บางที่ใส่ถุงยังดิ้น ขลุกขลักๆ ทิ้งไปในหลุมแล้วเอาดินกลบ ถ้านักปฏิบัติเห็นแล้วบอกว่าเขา ทําถูกแล้ว ปฏิบัติธรรมไม่ขึ้นหรอก เพราะศีลยังพร่อง กายใจ ต้องไม่ฆ่า ไม่เบียดเบียนไม่ทําร้ายถึงจะเป็นการเว้นปาณาติบาต
• ไม่ลักขโมย
นักปฏิบัติธรรมจริงๆ การถือวิสาสะ ถือว่าเป็นสามีภรรยา กัน สามีซื้อยาสีฟันมาใช้ส่วนตัวภรรยาเห็นว่าเป็นของสามี (ใน ทางกฎหมายถือว่าเป็นคนๆ เดียวกัน) เลยหยิบมาใช้โดยไม่ ขออนุญาต ผิดศีล เพราะเขาซื้อมา เขาเป็นเจ้าของ เรื่องมัน ละเอียดน่ะ อันนี้ผิดศีลอทินนาทานเพราะเขายังไม่อนุญาตแล้ว ไปเอามาใช้ ต้องขออนุญาตก่อน ถ้าเขาอนุญาตจึงจะไม่ผิดศีล มันละเอียดขนาดนั้น กฎหมายก็คือกฎหมาย มันเป็น เรื่องโลก อันนี้เป็นเรื่องของธรรมต้องละเอียดเพราะฉะนั้นข้ออทินนาทาน มันละเอียดลึกซึ้งขนาดนี้
• กาเมสุมิฉาจาร
การไม่ผิดลูกเมียเขา ที่เขามีเจ้าของ อย่าไปผิดเป็นหนึ่ง ในเรื่องของกายกรรม ๓
• วจีกรรมข้อมุสาวาท
พูดไม่ตรงความจริง ก็ถือว่ามุสานะ ถ้าเป็นนักปฏิบัติมัน ละเอียดลึกซึ้งกว่านั้น นอกจากไม่ตรงความจริงแล้ว ต้องไม่ หยาบ ไม่ส่อเสียด ไม่เพ้อเจ้อ คําว่าเพ้อเจ้อ คือพูดแล้วไม่เป็น แก่นสาร ไม่ได้ประโยชน์อะไรกับชีวิตถือว่า เพ้อเจ้อ พูดตลก ก็เสียหาย ปฏิบัติธรรมไม่ขึ้น คนพูดตลกปฏิบัติธรรมไม่ขึ้น มันละเอียดขนาดนี้ เรื่องมุสาตัวเดียวเมื่อเป็นวจีกรรม ๔ ต้อง ไม่เท็จ ไม่หยาบ ไม่ส่อเสียด และไม่เพ้อเจ้อ
• ส่วนมโนกรรม ๓
ไม่คิดพยาบาทเมื่อเรานั่งปฏิบัติธรรมอยู่ เออ! เดี๋ยว ออกไปได้ จะด่ามัน รับรองปฏิบัติไม่ขึ้น ศีลต้องคุมใจ แค่คิด พยาบาท คิดให้ร้ายก็ไม่ได้ คิดอิจฉาก็ไม่ได้ ละเอียดขนาดนั้น ไม่คิดเอาของที่เขายังไม่อนุญาต แล้วก็มีสัมมาทิฏฐิ คือมี ความเห็นถูก นักปฏิบัติแล้วต้องเป็นแบบนี้
๓. เนกขัมมะ
คือ เอาตัวออกจากกาม ไม่ใช่ตัวอย่างเดียว เอาใจออก จากกามด้วย ตอนที่ผมไปฝึกที่วัดมหาธาตุฯ ผมตั้งใจปฏิบัติ ธรรมเต็มที่ ๓๐ วัน ห้ามใครมาเยี่ยม ห้ามเพื่อนมาเยี่ยม ห้าม ครอบครัวมาเยี่ยม คิดว่าเราตายจากกันไปจากสิ่งร้อยรัด คือ ไม่ให้มีอะไรมาผูกพัน เรียกว่า เนกขัมมะ ออกจากกาม ความหมายของกาม กินอาหารอร่อยๆ ติดใจรสชาติ อาหารก็เป็นกาม ฟังเพลงเพราะแล้วติดใจก็เป็นกาม เห็นภาพ สวยๆ ชอบมาก ภาพวาดอันนี้สวย เสื้อร้านนี้สวย เหล่านี้ก็ เป็นกาม หากยังติดใจในกามจะปฏิบัติธรรมไม่ขึ้น ต้องมี เนกขัมมะคือเอาใจออกไปจากพวกนี้ให้ได้
๔. ปัญญา
ปัญญาตัวนี้ไม่ใช่ปัญญาที่เรียนทางโลก ปัญญาทางโลก เป็นเพียงสุตมยปัญญากับจินตามยปัญญา อย่างที่ท่านฟังผม เป็นสุตมยปัญญา หรือไปอ่านหนังสือก็เป็นสุตมยปัญญา ส่วน จินตามยปัญญาเป็นการคิดพิจารณา วิเคราะห์วิจัยยังไม่ใช่ ถ้า เป็นปัญญาบารมีตัวนี้ ต้องเป็นภาวนามยปัญญา
ภาวนา คือ พัฒนา เกิดจากจิตที่นิ่งสงบ แล้วปัญญาตัวนี้ เกิดจากใจหรือจิตใจตัวเดียวกัน ปัญญาที่เกิดจากใจ เรียกว่า ภาวนามยปัญญา ซึ่งปัญญาตัวนี้กับปัญญาทางโลกเป็นคนละ เรื่องกัน มองกันคนละทิศทาง นั่นปัญญาบารมีเป็นปัญญา ที่มาจากใจที่นิ่งสงบ ใจตั้งมั่นเป็นสมาธิจึงจะเป็นปัญญาบารมี ไม่ใช่ว่าเรียนระดับปริญญาเอกมาตั้ง ๓ สาขาวิชาแล้วบอกว่า คนนี้มีบารมีมากไม่ใช่ ทางโลกเขามองอย่างหนึ่งทางธรรมมอง อีกอย่าง ปัญญาทางธรรมต้องมาจากใจที่นิ่ง สงบจึงจะเป็น ปัญญาบารมี ต้องสร้าง ต้องทําด้วยตัวเอง อย่างที่เราไปฝึก กรรมฐาน ฝึกจิตให้นิ่ง ให้เกิดปัญญาเห็นแจ้ง ปัญญาบารมีก็ จะเกิดขึ้น
๕. วิริยะ
คือ ความเพียร เพียรพยายามทําความดี อย่าทําความชั่ว เพียรจะเขียนบัตรสนเท่ห์ เพียรเขียนด่าเขา นั่นไม่ถูก เพียรในเรื่อง ดีๆ เรื่องที่ถูกต้องตามธรรมเป็นเรื่องดีเช่นเพียรให้ทานเพียรรักษา ศีล เพียรประพฤติเนกขัมมะ เพียรพัฒนาปัญญาเห็นแจ้ง ฯลฯ
๖. ขันติ
คือ อดทน อดกลั้น คือ โสรัจจะ ขันติ คือ เวลาใครเขา ทําสิ่งที่ขัดใจเราแล้วพยายามข่มไว้ อดทนไว้ อย่างเวลานั่งฝึก สมาธิ นั่งฝึกกรรมฐาน ปวดเมื่อยกันทุกคน ต้องใช้ขันติ นั่ง ฟังบรรยายไป เริ่มปวดเริ่มเมื่อย ขยับเขยื้อนนี่ต้องใช้ขันติ ตอน ที่ผู้บรรยายไปฝึกที่วัดมหาธาตุฯ สู้กันสุดฤทธิ์เลย ในที่สุดจึง ได้ขันติบารมีตัวนี้มา ทําอะไรต้องไม่ตามกิเลส ต้องใช้ขันติ อย่างมาก โดยมากผู้ที่มีขันติน้อยเพราะสู้กับกิเลสไม่ไหว นั่งๆ ไปมันง่วงนอน เลยนอนดีกว่า นั่งๆ ไปมันปวดขา เลิกนั่งดีกว่า สวดมนต์ไปง่วงนอน ไปนอนดีกว่า เพราะไม่มีขันติ ขันติเป็น คุณธรรม ถ้าทําได้แล้วเป็นบารมี
๗. สัจจะ
คือ จริงใจจริงวาจา จริงกาย สมมติว่าใจมีสัจจะแล้วกาย ต้องทําตามที่ใจคิด ปากต้องพูดตามที่ใจคิด เพราะฉะนั้นคนที่ มีสัจจะบารมี พูดแล้วฟังไม่ค่อยเพราะ ไม่รื่นหู พระอยู่ป่าบาง องค์ พูดถึงกูแต่ท่านมีสัจจะ มีพระอยู่สํานักหนึ่งสายหนองป่าพง มีคนเข้าไปถามท่าน
เขาถามว่า : หลวงพ่อจะกลับเมื่อไหร่ หลวงพ่อตอบ : เดี๋ยวนี้ยังอยู่ที่นี่
เดี๋ยวนี้ยังอยู่ที่นี่ คืออนาคตบอกไม่ได้ว่าจะไปเมื่อไหร่ ถ้าบอกไปว่าจะไปสิบโมงวันพรุ่งนี้ แล้วถ้าหากไม่ได้ไป จะเสีย สัจจะ ท่านจึงบอกว่าเดี๋ยวนี้ยังอยู่ที่นี่ ท่านจะพูดอย่างนี้เสมอ ไปถามคนที่ถึงธรรม พรุ่งนี้จะไปหรือยัง ยังตอบไม่ได้เดี๋ยวนี้ ยังอยู่ที่นี่ท่านตอบได้แค่นี้เอง แสดงว่าพระรูปนี้มีสัจจะ แค่ถาม แล้วตอบอย่างนี้คนที่เข้าถึงธรรมแล้ว เขาจะรู้ว่าคนนี้มีสัจจะ บารมีสั่งสม คนที่ปากกับใจตรงกันมักจะพูดไม่เพราะ เวลาเรา ฟังคนพูดเพราะๆ แบบดัดจริต (ขอโทษนะ) ปฏิบัติธรรมไม่ ขึ้นหรอก ถ้าปฏิบัติขึ้นต้องตรงไปตรงมา
๘. อธิษฐาน
อธิษฐานต่างกับบนบานอย่างไร คําว่าอธิษฐานเป็นบารมี ตัวหนึ่งคือตั้งความปรารถนาไว้ เพื่อจุดประสงค์ใดจุดประสงค์ หนึ่ง หรือมากกว่าหนึ่งก็ได้ นี่คืออธิษฐาน อธิษฐานกับบนบาน ต่างกัน ชาวพุทธมักจะชอบบน บนเทวดาบ้าง บนเจ้าที่บ้าง
บนบาน ความหมายคือ คําขอร้องให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยเหลือ ในสิ่งที่ตนเองต้องการ เมื่อสําเร็จในสิ่งที่ปรารถนาแล้วจะมีสิ่ง ตอบแทนให้ นี่คือบนบาน ในพุทธศาสนาไม่มีบนบาน เพราะ การบนบานเป็นการฟ้องตัวเองถึงการด้อยศักยภาพของความ เป็นมนุษย์ การบนเทวดา การบนเจ้าที่ ฟ้องตนเองถึงการด้อย ศักยภาพ มนุษย์มีศักยภาพมากกว่าเทวดา เพราะฉะนั้นการ บนบานในพุทธศาสนาจึงไม่มี แต่มีอธิษฐาน
๙. เมตตา
เมตตาคือความรักความปรารถนาให้ผู้อื่นได้ประโยชน์ และมีความสุข เมตตาเป็นคุณธรรม ผู้ใดปฏิบัติได้แล้วจะถูกเก็บ สั่งสม ไว้ในจิตวิญญาณ เป็นเมตตาบารมี การให้อภัยเป็นทาน (อภัยทาน) เป็นบ่อเกิดแห่งเมตตา ผู้มีเมตตาเป็นคนมีอารมณ์ เย็น ไม่หงุดหงิด ไม่โกรธ เป็นที่รักของมนุษย์และอมนุษย์ ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย เมื่อเข้าใกล้ผู้มีเมตตาบารมีแล้วมี ความอบอุ่นใจ ผู้มีเมตตาบารมี เมื่อประพฤติปฏิบัติธรรมแล้ว สามารถเข้าถึงมรรคผลนิพพานได้ง่าย
๑๐. อุเบกขา
คือ ปล่อยวาง วางเฉย วางใจเป็นกลาง เรียกว่า อุเบกขา อุเบกขาในวิปัสสนาญาณกับอุเบกขาในฌานเป็นคนละเรื่องกัน และอุเบกขาของคนทั่วไปที่ไม่ได้ปฏิบัติธรรมเช่น เห็นใครเขา ทําอะไรไม่สนใจ ไม่รับรู้ ไม่รู้เรื่อง นับเข้าเป็นโมหะ ใครเขาว่า อะไร วางใจ อุเบกขาไม่สนใจ คําว่าไม่สนใจคือโมหะ ท่านเจ้า คุณโชดกท่านสอนให้ปฏิบัติสมถกรรมฐาน ให้ทําแต่แรกแล้ว เข้าถึงองค์ฌาน อุเบกขาในฌาน ถ้าเข้าฌาน ๔ ได้มันมี ๒ อารมณ์ คือ อุเบกขากับเอกัคคตา อุเบกขาตัวนี้ใช้กําลังของ ฌานข่มใจไว้ให้เป็นอุเบกขา แต่อุเบกขาในวิปัสสนา ไม่ใช่ มัน ต้องได้จากการที่สติรับกระทบแล้วเห็นอนัตตา จึงปล่อยวาง เป็นอุเบกขาในวิปัสสนา เพราะฉะนั้นอุเบกขาบารมีหมายถึง ตัวนี้ไม่ใช่อุเบกขาที่ใครเขาพูดอะไรใครเขาทําอะไรแล้วไม่สนใจ ตัวนั้นยังไม่ใช่ หรือเข้าฌาน ๔ ได้แล้วบอกว่าเป็นอุเบกขาก็ยัง ไม่ใช่อุเบกขาบารมี
ที่มา หนังสือ อธิษฐานบารมี ดร.สนอง วรอุไร

พระคาถามหาจักรพรรดิ
พระพุทธะไตรรัตนญาณ มณีนพรัตน์ สีสะหัสสะ สุธรรมา พุทโธ ธัมโม สังโฆ ยะธาพุทโมนะ
พุทธะบูชา ธัมมะบูชา สังฆะบูชา อัคคีทานัง วะรังคันธัง สีวะลี จะมะหาเถรัง อะหังวันทามิ ทูระโต
อะหังวันทามิ ธาตุโย อะหังวันทามิ สัพพะโส พุทธะ ธัมมะ สังฆะ ปูเชมิ

anyaha

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 46
  • ลงประกาศฟรี ลงโฆษณาฟรี โปรโมทสินค้าฟรี ซื้อ ขาย เช่า บริการ ลด แหล่งรวม ลงประกาศฟรี ลงโฆษณาฟรี โปรโมทสินค้าฟรี ซื้อ ขาย เช่า บริการ
    • ดูรายละเอียด
Re: พระคาถารัตนมาลา(อิติปิโส)
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: วันที่ 23 กันยายน 2024, 06:15:49 น. »
อานิสงส์สร้างพระพุทธรูป
หลวงพ่อฤๅษี วัดท่าซุง ตอบปัญหาธรรม

ผู้ถาม :- “หลวงพ่อคะ การสร้างพระพุทธรูป กับ การถวายปัจจัย อย่างไหนมีอานิสงส์ดีกว่าคะ…?”

หลวงพ่อ :- “การสร้างพระพุทธรูป จัดว่าเป็น พุทธบูชา ถ้าในเรื่องกรรมฐานจัดเป็น พุทธานุสสติกรรมฐาน ถ้าตายจากคนไปเกิดเป็นเทวดา มีรัศมีกายสว่างไสวมาก

ถ้า ถวายปัจจัย ถวายเป็นของสงฆ์ จัดว่าเป็น พุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา จัดเป็น จาคานุสสติกรรมฐาน เกิดมาชาติหน้าก็รวย

การสร้างพระถวาย ด้วยอำนาจพุทธบูชา ทำให้มีรัศมีกายมาก เป็นคนสวยตามที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า “พุทธบูชา มหาเตชะวัณโต การบูชาพระพุทธเจ้ามีเดชอำนาจมาก”

แต่ถ้ามีอำนาจแต่ขาดสตางค์ก็อดตายนะ ใช่ไหม…. แต่งตัวเป็นจอมพลแต่ไม่มีสตางค์ในกระเป๋า แย่นะ… อีกแบบหนึ่ง มีสตางค์มาก ๆ แต่ขาดอำนาจราชศักดิ์ ก็โดนโจรปล้นอีก ฉะนั้นทำมันเสีย ๒ อย่างเลยดีไหม…?”

ผู้ถาม :- “ดีค่ะ…แต่ได้ยินเขาว่า ถ้าสร้างพระพุทธรูปนี่ควรสร้างพระประธานจึงมีบุญมาก”

หลวงพ่อ :- “ก็เขียนไว้ซิ สร้างพระประธาน องค์เล็กองค์ใหญ่ก็เขียนไว้ ก็เป็นพระพุทธรูปเหมือนกัน เราสร้างก็ได้บุญแล้ว ใครไปโยนทิ้งก็ซวยเอง”

ผู้ถาม :- ถ้าหากว่าจะย้ายพระประธาน ไปบูชาเป็นพระประธานวัดอื่น จะได้ไหมคะ…?”

หลวงพ่อ :- “เรื่องของบูชาสำหรับที่วัดนี่ ถือว่าเขาถวายมาเพื่อบูชา ตั้งอยู่ที่ใดก็ตาม ถ้าพระย้ายไปที่อื่นนอกเขต ถือว่าย้ายเจดีย์ ทางวินัยท่านปรับอาบัติ และถ้าของนั้นเขาถวายสงฆ์ เขามีเจตนาเฉพาะจุดนั้น ถ้าเราเอาไป ถือว่าขโมยของสงฆ์ อันดับแรกเขาลงบัญชีอเวจีไว้ก่อน ของสงฆ์นี่แม้แต่เศษกระเบื้อง ถ้านำไปก็ลงบัญชีอเวจีเลย”

ผู้ถาม :- “หลวงพ่อเจ้าคะ การสร้างพระพุทธรูป ทำด้วยโลหะกับทำด้วยปูน อย่างไหนจะดีกว่ากันเจ้าคะ…?”

หลวงพ่อ :- “ถ้าเป็นเจตนาของฉันนะ ชอบให้ทำด้วยปูนมากกว่า ปั้นด้วยปูนแล้วปิดทอง เพราะอะไรรู้ไหม…เพราะพระปูนไม่มีใครขโมย พระโลหะเผลอหน่อยเดียว คนตัดเศียรแล้ว ดีไม่ดีเอาไปทั้งองค์ ฉะนั้นปูนดีกว่า มีอานิสงส์เท่ากัน ราคาถูกกว่า ทนทาน และรักษาง่ายกว่า”

หลวงพ่อ :- “การสร้างพระพุทธรูปนี่เป็นพุทธบูชา เป็นพุทธานุสสติในกรรมฐาน ๔๐ กอง ท่านบอกว่ากำลังพุทธานุสสติ เป็นเหตุให้เข้าถึงนิพพานได้ง่ายที่สุด ง่ายกว่ากองอื่น ก็เห็นจะจริง เพราะว่าพระพุทธเจ้าท่านอยู่นิพพานนี่ และท่านก็เป็นต้นตระกูลของพระนิพพาน ใช่ไหม…

ทีนี้ถ้าเราต้องการสร้างให้สวยตามที่เราชอบ เห็นแล้วก็ทำให้จิตใจสดชื่น จิตมันก็นึกถึงพระอยู่เสมอ ถ้าจิตนึกถึงพระพุทธรูปองค์นั้นอยู่เสมอ ก็จัดเป็น พุทธานุสสติกรรมฐาน ถ้าใจเราเกาะพระพุทธเจ้าเป็นปกติ ตายแล้วลงนรกไม่เป็น ฉะนั้นถ้าหากโยมเห็นว่าพระที่ทำด้วยโลหะสวยกว่า ชอบมากกว่า โยมก็สร้างแบบนั้น”

ผู้ถาม :- “หลวงพ่อคะ ถ้าหากว่าเราเดินไปเช่าตามร้าน กับการจ้างเขาหล่อให้แล้วเททองเอง อานิสงส์จะได้เท่ากันไหมคะ…?”

หลวงพ่อ :- “กุศลน้อยกว่าที่เขาทำสำเร็จแล้ว เพราะว่าเราต้องเหน็ดเหนื่อย ดีไม่ดีหัวเสีย ที่เขาทำเสร็จแล้วนะ เราก็เลือกดูเอาตามชอบใจ ใช่ไหมล่ะ วิธีการแบบนั้น ไม่ได้เกิดประโยชน์อะไรเลยนี่ ร้อนก็ร้อน เหนื่อยก็เหนื่อย บางทีไอ้ตัวร้อนตัวเหนื่อยนี่มันตัดเลย

ทำบุญทุกอย่าง ทำให้จิตสบาย กายสบาย อันนี้ถือว่ามีผลสูง ถวายสังฆทานนี่มีค่าสูงมาก การที่นิมนต์พระมาเลี้ยงข้าวที่บ้าน ๔-๕ องค์ อานิสงส์เป็นสังฆทานเหมือนกัน แต่ดีไม่ดีมันน้อยกว่าอย่างนี้ เพราะยุ่งกว่า ดีไม่ดีคนแกงบ้าง คนต้มบ้าง เราไม่ชอบใจก็โมโห ไอ้ตัวโมโหนี่แหละมันตัด ใช่ไหม…?”

ผู้ถาม :- “หลวงพ่อคะ ถ้าเรามีพระบูชา เราควรจะหันหน้าไปทางทิศไหนคะ…?”

หลวงพ่อ :- “พระบูชาที่นิยมกัน เขาหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ถ้าหันไปทางทิศใต้กับทิศตะวันตก สตางค์ไม่เหลือใช้ ลองดูก็ได้”

ผู้ถาม :- “เป็นเพราะเหตุใดคะ…?”

หลวงพ่อ :- “อันนี้ฉันไม่รู้ละ รู้แต่ว่าสมัยหลวงพ่อปาน ถ้าลูกศิษย์ท่านหันหน้าพระพุทธไปทางทิศตะวันตกหรือทิศใต้ ท่านบอกว่าควรหันไปทางทิศตะวันออกหรือทิศเหนือ”

ผู้ถาม :- “แล้วอย่างพระพุทธรูปที่บอกว่ายังไม่ เบิกพระเนตร หมายความว่าอย่างไรคะ…?”

หลวงพ่อ :- “ถ้ายังไม่เบิกพระเนตร แสดงว่ายังไม่มีลูกตา พระองค์ไหนมีลูกตาแล้ว พระองค์นั้นเบิกพระเนตรแล้ว ใช่ไหม…?”

ผู้ถาม :- (หัวเราะ)

หลวงพ่อ :- “ฉันว่ามันเป็นพิธีสมัยก่อนโน้นละมั้ง คือเขาปั้นพระพุทธรูปแล้ว ยังไม่ได้ทำลูกตา เลยหาช่างมาทำลูกตามากกว่า เวลานี้ก็เลยเอาวิธีการนั้น พระที่วัดฉันไม่ต้องเบิกเนตร เห็นท่านมีตาทุกองค์ ใครเขาถามว่าเบิกพระเนตรหรือยัง…ฉันไม่ทำละ มีแล้วนี่…ควรจะเบิกเนตรเราให้ดีเท่าเนตรท่านดีกว่า ใช่ไหม…?”

ผู้ถาม :- “แล้วถ้าหากว่าเรามีพระพุทธรูป แต่พระเนตรท่านปิด อย่างนี้ต้องเบิกพระเนตรไหมคะ…?”

หลวงพ่อ :- “เอาละซิ ขืนไปเบิกเข้า ตาท่านฉีกแน่ บาป ต่อไปชาติหน้า ตาเหลือก”

ผู้ถาม :- (หัวเราะ) “คือท่านหลับตานั่งสมาธิค่ะ”

หลวงพ่อ :- “เขาทำหลับตาก็ปล่อยให้หลับตา ทำสมาธิก็ต้องหลับตาใช่ไหม…?”

ผู้ถาม :- “หลวงพ่อครับ การถวายพระพุทธรูปองค์เล็กๆ กับถวายพระประธานองค์ใหญ่ๆ พระประธานในโบสถ์น่ะครับ จะมีอานิสงส์เหมือนกันหรือเปล่าครับ…?”

หลวงพ่อ :- “เหมือนกัน คือเขียนเหมือนกัน เขียนว่า “อานิสงส์ ถวายพระพุทธรูป” … แต่ว่าเราไปเทียบกันไม่ได้นะ สุดแล้วแต่กำลังใจ ถ้าคนที่เขามีฐานะน้อยเขามีเงินจริงๆ แค่สร้างพระพุทธรูปขนาด ๓ นิ้ว ทำด้วยปูนปลาสเตอร์ แต่ว่ากำลังใจเขามั่นคง ฐานะมันแค่นั้น ก็มีอานิสงส์สูง ถือว่าเขาทำดีที่สุดของฐานะอยู่แล้วใช่ไหม…

สร้างพระประธานในโบสถ์ อานิสงส์ก็คือสร้างพระพุทธรูป ถ้าหากว่าเจ้าของคิดว่าสร้างเพื่ออวดชาวบ้าน ก็สู้สร้างองค์เล็กๆ ไม่ได้ เพราะคิดด้วยจิตบริสุทธิ์”

ผู้ถาม :- “แล้วถวายพระประธานเพื่อแก้บนเล่าครับ คือว่าลูกชายง่องๆ แง่งๆ ใจไม่ค่อยดี ก็คิดว่าถ้าหากลูกชายแข็งแรงดี จะถวายพระประธานประจำอุโบสถสักองค์หนึ่ง จะแตกต่างกับถวายพระประธานเนื่องในการไม่แก้บนไหมครับ…?”

หลวงพ่อ :- “ต้องดูเจตนาก่อน เราแก้บน แต่ตั้งเจตนาให้ถูกนะ ถือว่าสร้างพระพุทธรูปไว้ในพระพุทธศาสนา เพื่อสักการะของคนและพระ มันจะมีอานิสงส์เหมือนกัน แต่ถ้าคิดว่านี่เพราะลูกเราไม่ตาย เพราะการถวายพระพุทธรูปอย่างนี้ อานิสงส์น้อยมาก เพราะเรามีการแลกเปลี่ยน

เราบนก็จริงแหล่ แต่คิดว่าการสร้างพระพุทธรูปนี่ สร้างไว้เป็นที่สักการะของคนและพระเณร ก็ถือว่าเราสร้างไว้ในพระพุทธศาสนา ไม่ถือเป็นการแลกเปลี่ยน ถ้าคิดว่าการแก้บน มันเป็นการแลกเปลี่ยน แต่ว่าเราบนไว้จริง แต่ว่าเจตนาเราตั้งไว้อีกหน่อยหนึ่ง”

ผู้ถาม :- “เรื่องพระประธานผ่านไป ทีนี้เรื่องพระแตก มีบางคนเขาบอกว่า ห้อยพระที่แตกหรือหัก ลูกเมียจะทะเลาะกัน พระศุกร์จะเข้าพระเสาร์จะแทรก บางคนถึงขนาดเอาเศียรพระหักๆแตกๆ ไปไว้ตามต้นโพธิ์ ตามวัด ความจริงเป็นยังไงครับหลวงพ่อ…?”

หลวงพ่อ :- “ถ้าจะให้แน่ คุณก็ลองห้อยดูก่อน ใครได้พระสมเด็จแตกๆ มาให้ฉันทีเหอะ ฉันเอาหมด…ความจริงมันไม่ได้เป็นอย่างนั้นหรอก มันจะด่ากันเองน่ะ เลยไปโทษพระใช่ไหม…

แต่ว่าที่เห็นเขาถือกัน ก็คือพระพุทธรูป ถ้าชำรุด เขาไม่บูชาไว้ที่บ้าน อันนี้ไม่มีตำรา อาจจะมีประสบการณ์ก็ได้นะ แต่พวกที่โบราณเขาเขียนบอกไว้ ต้องระวังหน่อย บางทีมีประสบการณ์ แต่หาเหตุมาไม่ได้ ก็ต้องเชื่อเหมือนกัน

อย่างสมัยหลวงพ่อปาน ถ้าลูกศิษย์ท่านหันหน้าพระพุทธไปทางทิศตะวันตกหรือทิศใต้ อันนี้ไม่มีเรื่องทะเลาะกัน แต่สตางค์ไม่เหลือใช้ ท่านบอกว่าควรหันไปทางทิศตะวันออกหรือทิศเหนือ ทีนี้หากเราเห็นว่าชำรุด เราตกแต่งให้ดีก็คงจะดีมั้ง”

ผู้ถาม :- “หลวงพ่อขอรับ ได้ทราบข่าวว่าหลวงพ่อจะ สร้างแท่นพระ สำหรับพระพุทธรูปข้างพระอุโบสถวัดท่าซุงนั้น อยากจะทราบว่าการสร้างแท่นพระมีอานิสงส์อย่างไรขอรับ…?”

หลวงพ่อ :- “สร้างแท่นก็เหมือนกับสร้างพระพุทธรูป คือแท่นพระพุทธรูปเขาบกพร่องอยู่ เราทำให้เต็ม อย่างนางวิสาขาหรือพระสิวลี อานิสงส์ไม่ใช่เล็กน้อยนะ อานิสงส์ใหญ่มาก คนจะรวยแล้วนะ วาสนาบารมีจะสูง สร้างแท่นพระ หนุนพระให้สูงน่ะ แล้วพระพุทธเจ้าด้วยนะ เราฐานะก็จะดีขึ้น”

ผู้ถาม :- “ดิฉันและน้อง ๆ ได้สร้างพระพุทธรูปปิดทองฝังเพชร ขนาด ๓๐ นิ้ว ถวายเป็นพุทธบูชา ไปไว้ที่วัดท่าซุง พอถวายแล้ว หลวงพ่อให้พรว่า “ขอให้รวยทุกคน รวยเท่าพระพุทธเจ้านะลูก” กราบเรียนถามหลวงพ่อว่า รวยเท่าพระพุทธเจ้าเขารวยแบบไหนเจ้าคะ…?”

หลวงพ่อ :- “จะเอาแบบไหนล่ะ จะเอาแบบทรัพย์มาก หรือจะเอาแบบกิเลสหมด…?”

ผู้ถาม :- “ตอนนี้เอาทรัพย์ก่อนก็แล้วกันค่ะ เพราะเศรษฐกิจไม่ค่อยดี”

หลวงพ่อ :- “พระพุทธเจ้านี่รวยมากเพราะกิเลสหมดนะ คือว่าพระพุทธเจ้าใครบอกไม่มีทรัพย์สินน่ะไม่ถูกหรอก ที่นั่งอยู่ที่นี่ ทรัพย์ที่นำมาให้ เป็นของพระพุทธเจ้าทั้งหมดนะ ฉันไม่คิดว่าเป็นของฉัน พระพุทธเจ้าเสด็จไปที่ไหนไม่เคยจน อย่างวิหารของนางวิสาขาเขาสร้างราคาเท่าไร ก็รวมความว่าพระพุทธเจ้ามีทรัพย์สินมากราคาเป็นล้านๆ โกฏิ เอารวยแบบนั้นก็แล้วกันนะ…”

หลวงพ่อมักจะให้พรอย่างนี้เสมอว่า “รวย..รวย..รวย”

หลวงพ่อตอบปัญหาธรรม ฉบับพิเศษ เล่ม ๑ หน้า ๑-๘
พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤๅษี วัดท่าซุง)