ผู้เขียน หัวข้อ: โควิด 33: MIS-C ภาวะอักเสบหลังติดเชื้อโควิดในเด็ก ที่ต้องเฝ้าระวัง!  (อ่าน 95 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 439
  • ลงประกาศฟรี ลงโฆษณาฟรี โปรโมทสินค้าฟรี ซื้อ ขาย เช่า บริการ ลด แหล่งรวม ลงประกาศฟรี ลงโฆษณาฟรี โปรโมทสินค้าฟรี ซื้อ ขาย เช่า บริการ
    • ดูรายละเอียด
ตอนที่เด็กๆ ติดเชื้อ COVID-19 ก็ว่าน่ากลัวแล้ว แต่รู้หรือไม่ว่าสิ่งที่ตามมาหลังจากนั้นอาจจะน่ากลัวกว่า และสิ่งที่เรากำลังพูดถึงนั่นก็คือภาวะ MIS-C (มิสซี) หรือ Multisystem Inflammatory Syndrome in Children มาดูกันว่าภาวะนี้มีความน่ากลัวอย่างไร และทำไมถึงร้ายแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยทีเดียว


MIS-C ภาวะอันตรายหลังหายจากโควิด
ภาวะ MIS-C เป็นภาวะอักเสบทั่วร่างกายหลังจากการติดเชื้อ COVID-19 ซึ่งเป็นกลุ่มอาการอักเสบที่เกิดขึ้นได้ในหลายๆ ระบบของร่างกาย โดยมีสาเหตุมาจากการที่ภูมิคุ้มกันในร่างกายของเด็กทำงานมากเกินไปจากการต่อสู้กับเชื้อโควิด จนไปทำลายระบบอื่นๆ ของร่างกาย ทำให้เกิดความผิดปกติของระบบต่างๆ ในร่างกายมากกว่า 2 ระบบ ซึ่งอาการนี้จะมีได้ตั้งแต่ช่วงหลังหายจากโควิดจนถึงหลังการติดเชื้อ 2-6 สัปดาห์ และถ้าดูจากสถิติของสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข จะพบว่าในปัจจุบันพบผู้ป่วยเด็กที่เกิดภาวะ MIS-C แล้วมากกว่า 100 รายทั่วประเทศ


จุดสังเกต…เมื่อ MIS-C ดูจะคล้ายกับ คาวาซากิ
เนื่องจากอาการของภาวะ MIS-C นั้นค่อนข้างจะคล้ายคลึงกับอาการของโรคคาวาซากิ (Kawasaki Disease) คือ มีไข้สูง มีผื่น ตาแดง ปากแดง จึงอาจทำให้เกิดความสับสนในหมู่คุณพ่อคุณแม่และผู้ปกครองได้ หนึ่งจุดสังเกตคืออาการของภาวะ MIS-C นั้นมักจะพบอาการทางระบบทางเดินอาหารและการทำงานของหัวใจที่ผิดปกติ รวมถึงยังมีโอกาสเสี่ยงที่จะช็อคได้สูงกว่า ซึ่งสิ่งที่จะแยกภาวะ MIS-C ออกจากโรคคาวาซากิได้อย่างชัดเจนนั้นก็คือการตรวจเลือดและอัลตร้าซาวด์หัวใจ นอกจากนี้โรคคาวาซากิมักจะเกิดกับเด็กที่อายุน้อยกว่า 5 ปี ในขณะที่ MIS-C มักจะเกิดในเด็กที่อายุ 8-10 ปีขึ้นไป แต่อย่างไรก็ตามเด็กที่อายุต่ำกว่า 8 ปี ก็ไม่ควรวางใจ เพราะก็ยังมีโอกาสเกิดภาวะอักเสบทั่วร่างกายนี้ได้เช่นกัน

Check List เบื้องต้น! อาการแบบนี้เสี่ยง MIS-C
อย่างที่บอกว่าภาวะ MIS-C นั้นเป็นภาวะการอักเสบทั่วร่างกายที่เกิดขึ้นกับหลายๆ ระบบ ไม่ว่าจะเป็นหัวใจ ปอด สมอง ตา ผิวหนัง และทางเดินอาหาร ซึ่งส่วนมากแล้วในระยะแรกนั้นเด็กที่เป็น MIS-C มักจะมีอาการไข้ อาเจียน ท้องเสีย จนทำให้คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองคิดว่าเป็นโรคติดเชื้อทางเดินอาหาร ซึ่งโดยส่วนมากแล้วโรคค่อนข้างจะดำเนินไปอย่างรวดเร็ว แค่เพียง 1 สัปดาห์ก็จะเริ่มมีอาการของระบบอื่นๆ ตามมา เช่น มีผื่นขึ้นตามตัว ตาแดง หายใจเหนื่อยหอบ หรือในบางรายอาจถึงขั้นช็อกได้

ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจและสังเกตอาการของลูกให้ดี ถ้าเกิดอาการเหล่านี้เมื่อไหร่ โดยเฉพาะในช่วงหลังจากการติดเชื้อโควิด ควรรีบพาไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาอย่างทันท่วงทีก่อนที่อาการจะรุนแรง หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนจนอันตรายถึงชีวิต

    ไข้สูงตั้งแต่ 38 เป็นต้นไป
    ผื่นขึ้นตามตัว
    ปวดหัว ซึม หรือมีอาการชัก
    ตาแดง
    ปากแดง ปากแห้งแตก ตุ่มรับรสที่ลิ้นมีขนาดใหญ่ผิดปกติ
    ต่อมน้ำเหลืองที่คอโต
    หายใจเหนื่อย หอบ
    ปวดท้อง ถ่ายเหลว ลำไส้อักเสบ
    อาเจียน


เมื่อไม่มียารักษา…จึงเน้นไปที่ประคับประคอง
และเนื่องจากในปัจจุบันนั้นยังไม่มียาเพื่อรักษาภาวะ MIS-C โดยเฉพาะ จึงเป็นการรักษาตามอาการ และให้ยาต้านการอักเสบ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการให้อิมมูโนโกลบิน (Immunoglobulins) หรือแอนติบอดี้ โปรตีนชนิดพิเศษที่ผลิตจากพลาสมาเซลล์ ที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย โดยอิมมูโนโกลบินนี้จะทำหน้าที่ปกป้องร่างกายโดยไปเกาะติดอยู่กับแบคทีเรีย และไวรัส ทำให้ร่างกายกำจัดสิ่งเหล่านี้ออกมาได้ง่ายขึ้น หรือในบางรายแพทย์อาจพิจารณาให้ทานยากดภูมิเพื่อกันการตอบสนองของภูมิคุ้มกันที่มากเกินไปจนไปทำลายระบบต่างๆ นั่นเอง 

ถึงแม้ว่าภาวะ MIS-C จะไม่ได้มีอัตราการเกิดที่สูง แต่จะเห็นว่าถ้าเกิดแล้วก็อันตรายไม่แพ้กับการติดเชื้อโควิด แถมยังดูจะอันตรายยิ่งกว่า อย่างไรก็ตามการฉีดวัคซีนจะช่วยลดความรุนแรงและการเกิดภาวะ MIS-C ได้มากถึง 91-100% และการตรวจสุขภาพหลังการติดเชื้อโควิดก็จะช่วยให้รู้เท่าทันความเสี่ยงได้



โควิด 33: MIS-C ภาวะอักเสบหลังติดเชื้อโควิดในเด็ก ที่ต้องเฝ้าระวัง! อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://doctorathome.com/covid-19