อธิษฐานบารมี คําว่าอธิษฐาน เป็นคุณธรรม
คุณธรรม หมายถึง ทําแล้วดี มีคุณ มีประโยชน์ ถ้าทําได้ แล้วจะสั่งสมในใจเกิดเป็นบารมี - อธิษฐาน คือ ตั้งใจไว้เพื่อจุดประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง ตั้งความปรารถนาไว้ เรียกว่า อธิษฐาน อธิษฐานอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ อธิษฐานหลายอย่างก็ได้ ยกตัวอย่าง เช่น พระนางเขมาซึ่งเป็นมเหสีรองของพระเจ้า พิมพิสารในอดีตท่านอธิษฐานไว้ให้ได้เป็นพุทธสาวิกา หนึ่งอย่าง และอธิษฐานให้มีความยอดเยี่ยม (เอตทัคคะ) ทางด้านปัญญา ด้วย พอหลังจากได้ปฏิบัติธรรมสําเร็จเป็นอรหันต์ ได้เป็น พุทธสาวิกาจริง และมีปัญญาเป็นเลิศจริง นี่อธิษฐานสองอย่าง ก็ได้ พระอานนท์อธิษฐาน ๕ อย่าง สุดแท้แต่ใครจะอธิษฐาน มากหรือน้อย
ไม่ต้องดูใคร ดูที่อดีตของพระนางพิมพา (ยโสธรา) ตอน ที่นางเจอพระพุทธเจ้าทีปังกร (พระพุทธเจ้ามีมาหลายองค์แล้ว ก่อนพระพุทธเจ้าทีปังกรก็มี) ตอนนั้นนางมีชื่อว่าสุมิตตาไป เจอสุเมธฤาษี พระพุทธเจ้าทีปังกรเสด็จผ่านในบริเวณที่มีหลุม โคลนเฉอะแฉะ สุเมธฤาษีเอาตัวทาบลงนอนให้พระพุทธเจ้า และสาวกเดินผ่านนางรู้ทันทีเลยว่าสุเมธฤาษีปรารถนาพุทธภูมิ นางจึงอธิษฐานให้ได้เป็นบาทบริจาริกาจากพระพุทธเจ้าทีปังกร มาจนถึงพระพุทธโคดม ผ่านพระพุทธเจ้ามา ๒๕ พระองค์ นาง อธิษฐานเรื่องยาก ถ้าอธิษฐานให้สําเร็จอรหันต์จะง่ายกว่า อธิษฐานเป็นโสดาบันบุคคลง่ายกว่า อธิษฐานให้มีดวงตาเห็น ธรรมง่ายกว่า ตั้งปรารถนาเพื่อสําเร็จสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เมื่อเราตั้งใจแล้ว คิดแล้ว มันก็ได้สั่งสมในใจ เป็นอธิษฐานบารมี บารมี เป็นธรรมะที่ทําให้เป็นเลิศ ใครมีบารมีคนนั้นเป็น เลิศได้ หรือหมายถึงคุณสมบัติที่ทําให้ยิ่งใหญ่ ตอนนี้จะถาม ว่าทุกคนที่เกิดมาเป็นมนุษย์ได้มีบารมีหรือไม่? ตอบว่าต้องมี ต้องมีบารมีจึงจะเกิดเป็นมนุษย์ แต่จะมีมากมีน้อยเป็นอีก เรื่องหนึ่ง แต่ทุกคนต้องมีบารมีชาวธิเบตบอกว่าบารมีหมายถึง ธรรมะที่ทําให้ถึงฝั่ง คือมีบารมีจึงจะเข้านิพพานได้ เพราะฉะนั้น อธิษฐานเป็นบารมีตัวหนึ่ง บารมีเกิดขึ้นได้อย่างไร
เกิดจากการคิด การพูด การกระทําของเราเอง คุณธรรม ๑๐ ตัว เมื่อคิดพูดทําแล้วจะสั่งสมเป็นบารมี
๑. ทานคือการให้ให้อะไรก็แล้วแต่ การให้เป็นสิ่งดี ถ้าให้ไม่ดีไม่ใช่บารมี จะให้วัตถุเป็นทาน ให้อภัยเป็นทาน ให้ปัญญาเป็นทาน ให้ โอกาสเป็นทาน ทานต่างๆ เหล่านี้เมื่อทําแล้ว จะสั่งสมในใจ ของผู้กระทํา เกิดเป็นบารมี
๒. ศีลเป็นฆราวาสแค่ศีล ๕ ข้อก็พอ คําว่าศีล ๕ ข้อ เพียงแค่รู้ อย่างเดียวแต่ไม่มีศีลก็ไม่ได้ คําว่าศีล ๕ ใครศึกษาอภิธรรมจะ บอกว่า เป็นเครื่องที่สํารวมกายกับวาจา แต่ถ้าเป็นนักปฏิบัติ แล้วศีลทั้ง ๕ ข้อ ไม่คุมใจปฏิบัติไม่ได้มรรคผล ศีลต้องคุมใจ ลึกถึงใจทุกขณะตื่น เรามีศีล ๕ อยู่ในใจ ไม่ใช่แค่ศีล ๕ ข้อ ยังหยาบไป จะให้ปฏิบัติธรรมได้เร็ว ต้องมีกุศลกรรมบท ๑๐ ฟังดูแล้วมันยาก อธิบายง่ายๆ ว่าคือศีล ๕ นั้นแหละ เพียง แต่ว่ากายเป็นศีล หากมีกายเป็นศีลคือ
• ไม่ฆ่า ไม่เบียดเบียน
อย่างไข้หวัดนกระบาดแล้ว ฆ่าไก่เราเห็นในจอโทรทัศน์ เขาทําบาป มันเรื่องของเขานะ ไม่ใช่เรื่องของเรา ถ้าเราเห็นดี ด้วยปฏิบัติธรรมไม่ขึ้นหรอก เขาทํามันเรื่องของเขา เราต้องไม่ เห็นดีด้วย เพราะเขาเบียดเบียน บางที่ใส่ถุงยังดิ้น ขลุกขลักๆ ทิ้งไปในหลุมแล้วเอาดินกลบ ถ้านักปฏิบัติเห็นแล้วบอกว่าเขา ทําถูกแล้ว ปฏิบัติธรรมไม่ขึ้นหรอก เพราะศีลยังพร่อง กายใจ ต้องไม่ฆ่า ไม่เบียดเบียนไม่ทําร้ายถึงจะเป็นการเว้นปาณาติบาต
• ไม่ลักขโมย
นักปฏิบัติธรรมจริงๆ การถือวิสาสะ ถือว่าเป็นสามีภรรยา กัน สามีซื้อยาสีฟันมาใช้ส่วนตัวภรรยาเห็นว่าเป็นของสามี (ใน ทางกฎหมายถือว่าเป็นคนๆ เดียวกัน) เลยหยิบมาใช้โดยไม่ ขออนุญาต ผิดศีล เพราะเขาซื้อมา เขาเป็นเจ้าของ เรื่องมัน ละเอียดน่ะ อันนี้ผิดศีลอทินนาทานเพราะเขายังไม่อนุญาตแล้ว ไปเอามาใช้ ต้องขออนุญาตก่อน ถ้าเขาอนุญาตจึงจะไม่ผิดศีล มันละเอียดขนาดนั้น กฎหมายก็คือกฎหมาย มันเป็น เรื่องโลก อันนี้เป็นเรื่องของธรรมต้องละเอียดเพราะฉะนั้นข้ออทินนาทาน มันละเอียดลึกซึ้งขนาดนี้
• กาเมสุมิฉาจาร
การไม่ผิดลูกเมียเขา ที่เขามีเจ้าของ อย่าไปผิดเป็นหนึ่ง ในเรื่องของกายกรรม ๓
• วจีกรรมข้อมุสาวาท
พูดไม่ตรงความจริง ก็ถือว่ามุสานะ ถ้าเป็นนักปฏิบัติมัน ละเอียดลึกซึ้งกว่านั้น นอกจากไม่ตรงความจริงแล้ว ต้องไม่ หยาบ ไม่ส่อเสียด ไม่เพ้อเจ้อ คําว่าเพ้อเจ้อ คือพูดแล้วไม่เป็น แก่นสาร ไม่ได้ประโยชน์อะไรกับชีวิตถือว่า เพ้อเจ้อ พูดตลก ก็เสียหาย ปฏิบัติธรรมไม่ขึ้น คนพูดตลกปฏิบัติธรรมไม่ขึ้น มันละเอียดขนาดนี้ เรื่องมุสาตัวเดียวเมื่อเป็นวจีกรรม ๔ ต้อง ไม่เท็จ ไม่หยาบ ไม่ส่อเสียด และไม่เพ้อเจ้อ
• ส่วนมโนกรรม ๓
ไม่คิดพยาบาทเมื่อเรานั่งปฏิบัติธรรมอยู่ เออ! เดี๋ยว ออกไปได้ จะด่ามัน รับรองปฏิบัติไม่ขึ้น ศีลต้องคุมใจ แค่คิด พยาบาท คิดให้ร้ายก็ไม่ได้ คิดอิจฉาก็ไม่ได้ ละเอียดขนาดนั้น ไม่คิดเอาของที่เขายังไม่อนุญาต แล้วก็มีสัมมาทิฏฐิ คือมี ความเห็นถูก นักปฏิบัติแล้วต้องเป็นแบบนี้
๓. เนกขัมมะคือ เอาตัวออกจากกาม ไม่ใช่ตัวอย่างเดียว เอาใจออก จากกามด้วย ตอนที่ผมไปฝึกที่วัดมหาธาตุฯ ผมตั้งใจปฏิบัติ ธรรมเต็มที่ ๓๐ วัน ห้ามใครมาเยี่ยม ห้ามเพื่อนมาเยี่ยม ห้าม ครอบครัวมาเยี่ยม คิดว่าเราตายจากกันไปจากสิ่งร้อยรัด คือ ไม่ให้มีอะไรมาผูกพัน เรียกว่า เนกขัมมะ ออกจากกาม ความหมายของกาม กินอาหารอร่อยๆ ติดใจรสชาติ อาหารก็เป็นกาม ฟังเพลงเพราะแล้วติดใจก็เป็นกาม เห็นภาพ สวยๆ ชอบมาก ภาพวาดอันนี้สวย เสื้อร้านนี้สวย เหล่านี้ก็ เป็นกาม หากยังติดใจในกามจะปฏิบัติธรรมไม่ขึ้น ต้องมี เนกขัมมะคือเอาใจออกไปจากพวกนี้ให้ได้
๔. ปัญญาปัญญาตัวนี้ไม่ใช่ปัญญาที่เรียนทางโลก ปัญญาทางโลก เป็นเพียงสุตมยปัญญากับจินตามยปัญญา อย่างที่ท่านฟังผม เป็นสุตมยปัญญา หรือไปอ่านหนังสือก็เป็นสุตมยปัญญา ส่วน จินตามยปัญญาเป็นการคิดพิจารณา วิเคราะห์วิจัยยังไม่ใช่ ถ้า เป็นปัญญาบารมีตัวนี้ ต้องเป็นภาวนามยปัญญา
ภาวนา คือ พัฒนา เกิดจากจิตที่นิ่งสงบ แล้วปัญญาตัวนี้ เกิดจากใจหรือจิตใจตัวเดียวกัน ปัญญาที่เกิดจากใจ เรียกว่า ภาวนามยปัญญา ซึ่งปัญญาตัวนี้กับปัญญาทางโลกเป็นคนละ เรื่องกัน มองกันคนละทิศทาง นั่นปัญญาบารมีเป็นปัญญา ที่มาจากใจที่นิ่งสงบ ใจตั้งมั่นเป็นสมาธิจึงจะเป็นปัญญาบารมี ไม่ใช่ว่าเรียนระดับปริญญาเอกมาตั้ง ๓ สาขาวิชาแล้วบอกว่า คนนี้มีบารมีมากไม่ใช่ ทางโลกเขามองอย่างหนึ่งทางธรรมมอง อีกอย่าง ปัญญาทางธรรมต้องมาจากใจที่นิ่ง สงบจึงจะเป็น ปัญญาบารมี ต้องสร้าง ต้องทําด้วยตัวเอง อย่างที่เราไปฝึก กรรมฐาน ฝึกจิตให้นิ่ง ให้เกิดปัญญาเห็นแจ้ง ปัญญาบารมีก็ จะเกิดขึ้น
๕. วิริยะคือ ความเพียร เพียรพยายามทําความดี อย่าทําความชั่ว เพียรจะเขียนบัตรสนเท่ห์ เพียรเขียนด่าเขา นั่นไม่ถูก เพียรในเรื่อง ดีๆ เรื่องที่ถูกต้องตามธรรมเป็นเรื่องดีเช่นเพียรให้ทานเพียรรักษา ศีล เพียรประพฤติเนกขัมมะ เพียรพัฒนาปัญญาเห็นแจ้ง ฯลฯ
๖. ขันติคือ อดทน อดกลั้น คือ โสรัจจะ ขันติ คือ เวลาใครเขา ทําสิ่งที่ขัดใจเราแล้วพยายามข่มไว้ อดทนไว้ อย่างเวลานั่งฝึก สมาธิ นั่งฝึกกรรมฐาน ปวดเมื่อยกันทุกคน ต้องใช้ขันติ นั่ง ฟังบรรยายไป เริ่มปวดเริ่มเมื่อย ขยับเขยื้อนนี่ต้องใช้ขันติ ตอน ที่ผู้บรรยายไปฝึกที่วัดมหาธาตุฯ สู้กันสุดฤทธิ์เลย ในที่สุดจึง ได้ขันติบารมีตัวนี้มา ทําอะไรต้องไม่ตามกิเลส ต้องใช้ขันติ อย่างมาก โดยมากผู้ที่มีขันติน้อยเพราะสู้กับกิเลสไม่ไหว นั่งๆ ไปมันง่วงนอน เลยนอนดีกว่า นั่งๆ ไปมันปวดขา เลิกนั่งดีกว่า สวดมนต์ไปง่วงนอน ไปนอนดีกว่า เพราะไม่มีขันติ ขันติเป็น คุณธรรม ถ้าทําได้แล้วเป็นบารมี
๗. สัจจะคือ จริงใจจริงวาจา จริงกาย สมมติว่าใจมีสัจจะแล้วกาย ต้องทําตามที่ใจคิด ปากต้องพูดตามที่ใจคิด เพราะฉะนั้นคนที่ มีสัจจะบารมี พูดแล้วฟังไม่ค่อยเพราะ ไม่รื่นหู พระอยู่ป่าบาง องค์ พูดถึงกูแต่ท่านมีสัจจะ มีพระอยู่สํานักหนึ่งสายหนองป่าพง มีคนเข้าไปถามท่าน
เขาถามว่า : หลวงพ่อจะกลับเมื่อไหร่ หลวงพ่อตอบ : เดี๋ยวนี้ยังอยู่ที่นี่
เดี๋ยวนี้ยังอยู่ที่นี่ คืออนาคตบอกไม่ได้ว่าจะไปเมื่อไหร่ ถ้าบอกไปว่าจะไปสิบโมงวันพรุ่งนี้ แล้วถ้าหากไม่ได้ไป จะเสีย สัจจะ ท่านจึงบอกว่าเดี๋ยวนี้ยังอยู่ที่นี่ ท่านจะพูดอย่างนี้เสมอ ไปถามคนที่ถึงธรรม พรุ่งนี้จะไปหรือยัง ยังตอบไม่ได้เดี๋ยวนี้ ยังอยู่ที่นี่ท่านตอบได้แค่นี้เอง แสดงว่าพระรูปนี้มีสัจจะ แค่ถาม แล้วตอบอย่างนี้คนที่เข้าถึงธรรมแล้ว เขาจะรู้ว่าคนนี้มีสัจจะ บารมีสั่งสม คนที่ปากกับใจตรงกันมักจะพูดไม่เพราะ เวลาเรา ฟังคนพูดเพราะๆ แบบดัดจริต (ขอโทษนะ) ปฏิบัติธรรมไม่ ขึ้นหรอก ถ้าปฏิบัติขึ้นต้องตรงไปตรงมา
๘. อธิษฐานอธิษฐานต่างกับบนบานอย่างไร คําว่าอธิษฐานเป็นบารมี ตัวหนึ่งคือตั้งความปรารถนาไว้ เพื่อจุดประสงค์ใดจุดประสงค์ หนึ่ง หรือมากกว่าหนึ่งก็ได้ นี่คืออธิษฐาน อธิษฐานกับบนบาน ต่างกัน ชาวพุทธมักจะชอบบน บนเทวดาบ้าง บนเจ้าที่บ้าง
บนบาน ความหมายคือ คําขอร้องให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยเหลือ ในสิ่งที่ตนเองต้องการ เมื่อสําเร็จในสิ่งที่ปรารถนาแล้วจะมีสิ่ง ตอบแทนให้ นี่คือบนบาน ในพุทธศาสนาไม่มีบนบาน เพราะ การบนบานเป็นการฟ้องตัวเองถึงการด้อยศักยภาพของความ เป็นมนุษย์ การบนเทวดา การบนเจ้าที่ ฟ้องตนเองถึงการด้อย ศักยภาพ มนุษย์มีศักยภาพมากกว่าเทวดา เพราะฉะนั้นการ บนบานในพุทธศาสนาจึงไม่มี แต่มีอธิษฐาน
๙. เมตตาเมตตาคือความรักความปรารถนาให้ผู้อื่นได้ประโยชน์ และมีความสุข เมตตาเป็นคุณธรรม ผู้ใดปฏิบัติได้แล้วจะถูกเก็บ สั่งสม ไว้ในจิตวิญญาณ เป็นเมตตาบารมี การให้อภัยเป็นทาน (อภัยทาน) เป็นบ่อเกิดแห่งเมตตา ผู้มีเมตตาเป็นคนมีอารมณ์ เย็น ไม่หงุดหงิด ไม่โกรธ เป็นที่รักของมนุษย์และอมนุษย์ ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย เมื่อเข้าใกล้ผู้มีเมตตาบารมีแล้วมี ความอบอุ่นใจ ผู้มีเมตตาบารมี เมื่อประพฤติปฏิบัติธรรมแล้ว สามารถเข้าถึงมรรคผลนิพพานได้ง่าย
๑๐. อุเบกขาคือ ปล่อยวาง วางเฉย วางใจเป็นกลาง เรียกว่า อุเบกขา อุเบกขาในวิปัสสนาญาณกับอุเบกขาในฌานเป็นคนละเรื่องกัน และอุเบกขาของคนทั่วไปที่ไม่ได้ปฏิบัติธรรมเช่น เห็นใครเขา ทําอะไรไม่สนใจ ไม่รับรู้ ไม่รู้เรื่อง นับเข้าเป็นโมหะ ใครเขาว่า อะไร วางใจ อุเบกขาไม่สนใจ คําว่าไม่สนใจคือโมหะ ท่านเจ้า คุณโชดกท่านสอนให้ปฏิบัติสมถกรรมฐาน ให้ทําแต่แรกแล้ว เข้าถึงองค์ฌาน อุเบกขาในฌาน ถ้าเข้าฌาน ๔ ได้มันมี ๒ อารมณ์ คือ อุเบกขากับเอกัคคตา อุเบกขาตัวนี้ใช้กําลังของ ฌานข่มใจไว้ให้เป็นอุเบกขา แต่อุเบกขาในวิปัสสนา ไม่ใช่ มัน ต้องได้จากการที่สติรับกระทบแล้วเห็นอนัตตา จึงปล่อยวาง เป็นอุเบกขาในวิปัสสนา เพราะฉะนั้นอุเบกขาบารมีหมายถึง ตัวนี้ไม่ใช่อุเบกขาที่ใครเขาพูดอะไรใครเขาทําอะไรแล้วไม่สนใจ ตัวนั้นยังไม่ใช่ หรือเข้าฌาน ๔ ได้แล้วบอกว่าเป็นอุเบกขาก็ยัง ไม่ใช่อุเบกขาบารมี
ที่มา หนังสือ อธิษฐานบารมี ดร.สนอง วรอุไร
พระคาถามหาจักรพรรดิพระพุทธะไตรรัตนญาณ มณีนพรัตน์ สีสะหัสสะ สุธรรมา พุทโธ ธัมโม สังโฆ ยะธาพุทโมนะ
พุทธะบูชา ธัมมะบูชา สังฆะบูชา อัคคีทานัง วะรังคันธัง สีวะลี จะมะหาเถรัง อะหังวันทามิ ทูระโต
อะหังวันทามิ ธาตุโย อะหังวันทามิ สัพพะโส พุทธะ ธัมมะ สังฆะ ปูเชมิ