ผู้เขียน หัวข้อ: money expo: วางแผนการเงินรอบด้าน ตามหลักทฤษฎี Maslow  (อ่าน 47 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 440
  • ลงประกาศฟรี ลงโฆษณาฟรี โปรโมทสินค้าฟรี ซื้อ ขาย เช่า บริการ ลด แหล่งรวม ลงประกาศฟรี ลงโฆษณาฟรี โปรโมทสินค้าฟรี ซื้อ ขาย เช่า บริการ
    • ดูรายละเอียด
money expo: วางแผนการเงินรอบด้าน ตามหลักทฤษฎี Maslow
« เมื่อ: วันที่ 2 ตุลาคม 2024, 12:55:13 น. »
money expo: วางแผนการเงินรอบด้าน ตามหลักทฤษฎี Maslow

การวางแผนการเงินเป็นเรื่องจำเป็นในทุกช่วงชีวิต เพราะจะช่วยเตรียมความพร้อม และนำชีวิตไปสู่ความมั่นคงทางการเงินในอนาคตได้ โดยการวางแผนการเงินเราสามารถอ้างอิงจากทฤษฎี Maslow ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความสำคัญกับความต้องการพื้นฐาน และความต้องการทางจิตใจของเราก่อนจะเริ่มสร้างแผนการเงินที่เหมาะสมได้ค่ะ
 
ทฤษฎีมาสโลว์ หรือลำดับขั้นความต้องการ ของอับราฮัม แมสโลว์ (Maslow’s Hierarchy of Needs) เป็นทฤษฎีที่นำเสนอโดย ดร. อับราฮัม แมสโลว์ (Abraham Maslow) ครั้งแรกในบทความ "A Theory of Human Motivation" ในปี 1943 ได้รับความนิยม และใช้งานอย่างแพร่หลายในด้านจิตวิทยา และการจัดการ โดยทฤษฎีนี้จะนำเสนอลำดับขั้นของความต้องการของมนุษย์ในรูปแบบของพีระมิด (pyramid) และแบ่งเป็นระดับต่างๆ ตามความสำคัญ 5 ขั้นด้วยกัน เรียงตามระดับความสำคัญ โดยระดับบนสุดมีความสำคัญน้อยกว่าระดับล่างสุด ดังนี้


1. ความต้องการพื้นฐานทางด้านร่างกาย (Physiological Needs) :
 
เป็นเรื่องของความต้องการในอาหาร, น้ำ, ที่อยู่อาศัย, เสื้อผ้า, และการแพทย์ การวางแผนการเงินเพื่อตอบสนองความต้องการพื้นฐานเหล่านี้ก็คือเรื่องของงบประมาณสำหรับค่าอาหาร, บ้าน, บิลหรือค่าใช้จ่ายต่างๆ, ของใช้จำเป็น, และการส่งเสริมสุขภาพ  การมีเงินสำรองสำหรับครอบครัว และคนข้างหลังก็จะสามารถช่วยในเรื่องของค่าใช้จ่ายให้เป็นไปตามแผนการเงินที่วางไว้ได้
 
ผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เหมาะกับความต้องการพื้นฐานระดับ Physiological Needs คือ ผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต เพราะการวางแผนประกันชีวิตเป็นส่วนสำคัญของการวางแผนการเงินที่จะช่วยกำหนดการเงิน หรือความมั่นคงในอนาคตได้ รวมถึงการเก็บเงินเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับเรื่องต่างๆ เช่น การเลี้ยงชีพหลังการเกษียณ หรือการศึกษาของลูกหลาน เป็นต้น
 

2. ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย (Safety Needs) :
 
เป็นความต้องการในเรื่องความปลอดภัยทั้งทางร่างกาย และจิตใจ ซึ่งโดยปกติของการวางแผนการเงินอย่างน้อยเราต้องมีเงินสำรองเผื่อฉุกเฉินสำหรับเรื่องต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นกระทันหัน ไม่ว่าจะเป็นการถูกเลิกจ้าง การเจ็บป่วยฉุกเฉิน หรือความล้มเหลวจากการประกอบธุรกิจ เป็นต้น ดังนั้นเราควรมีการวางแผนการเงินอย่างมีระบบเพื่อรับประกันความมั่นคง ซึ่งรวมถึงการออมเงินเพื่อการฉุกเฉิน, ประกันภัย, และการจัดการหนี้
 
ผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เหมาะกับความต้องการพื้นฐานระดับ Safety Needs คือ ผลิตภัณฑ์เงินออมระยะยาว และประกันสุขภาพ เพราะการวางแผนเรื่องประกันสุขภาพ จะช่วยให้เรารู้สึกอุ่นใจหากเกิดการเจ็บไข้ได้ป่วย ว่าเราจะมีเงินสำรองเพื่อการรักษาพยาบาลโดยที่ไม่ต้องมาดึงเงินเก็บออกมาใช้จ่าย ส่วนเงินออมระยะยาวก็จะสามารถช่วย Support กรณีเกิดเหตุฉุกเฉินต่างๆ ที่มีความจำเป็นต้องใช้เงิน เช่น การถูกเลิกจ้าง เพราะเราจะรู้สึกปลอดภัยว่าเราจะมีเงินสำรองเพียงพอ ระหว่างระยะเวลาที่หางานใหม่ได้ เป็นต้น
 

3. ความต้องการความเชื่อมั่น ความรัก และสังคม (Belongingness and Love Needs) :
 
ในขั้นนี้จะเป็นความต้องการด้านอารมณ์ เรามักจะต้องการเชื่อมั่น ความรัก และการมีส่วนร่วมในสังคม การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับครอบครัว และเพื่อน เช่น การเดินทางท่องเที่ยว, การเข้าร่วมกิจกรรมในสังคม เป็นต้น ซึ่งหากมีการทำกิจกรรมต่างๆ เหล่านี้ อาจจะต้องมีเงินสำรองที่สามารถหยิบฉวยมาใช้ได้โดยง่าย
 
ผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เหมาะกับความต้องการพื้นฐานระดับ Belongingness and Love Needs คือ ผลิตภัณฑ์เงินออม หรือการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูง เช่น บัญชีเงินฝากดิจิทัล ทองคำ เป็นต้น เพราะสามารถถอน หรือเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ง่าย
 

4. ความต้องการได้รับการยอมรับจากผู้อื่น และความนับถือในตนเอง (Esteem Needs) :
 
หากต้องการได้รับการยอมรับจากผู้อื่น  และความเชื่อมั่น และเห็นคุณค่าในตนเอง ควรหมั่นศึกษาหาความรู้ มีการลงทุนในการศึกษา และการพัฒนาทักษะต่างๆ ในด้านสถานะสังคม คือการมีหน้าที่การงานเป็นที่ยอมรับ ส่วนในเรื่องของการเงินก็ควรมีการวางแผนเพื่อเพิ่มรายได้ และสร้างความมั่นคงในอนาคตด้วยนะคะ
 
ผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เหมาะกับความต้องการพื้นฐานระดับ Esteem Needs คือ การลงทุนในหุ้น หรือกองทุนรวม ทั้งนี้ ควรศึกษาข้อมูล พิจารณาอย่างรอบคอบ หรือควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการเงิน ก่อนตัดสินใจลงทุน และมีการลงทุนอย่างระมัดระวัง เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายการลงทุนนะคะ
 

5. ความต้องการบรรลุเป้าหมาย ประสบความสำเร็จสูงสุดในชีวิต (Self-Actualization  Needs) :
 
เป็นความต้องการในลำดับขั้นสุดท้าย ให้ความสำคัญกับความพึงพอใจ และการรู้จักตนเอง การเรียนรู้ การแสวงหาประสบการณ์ใหม่ๆ มีการตั้งเป้าหมาย และการสร้างแผนการเงินเพื่อความสำเร็จในอนาคต ซึ่งความต้องการในระดับขั้นนี้ของแต่ละบุคคลจะแตกต่างกันไป เป้าหมายจะเป็นสิ่งที่ใฝ่ฝัน หรือเติมเต็มความฝันนั่นเองค่ะ
 
ผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เหมาะกับความต้องการพื้นฐานระดับ Self-Actualization คือ การลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือก หากเรามีความพึงพอใจในความต้องการในลำดับขั้นก่อนหน้านี้มาแล้ว ลำดับถัดไปก็มักจะเป็นความต้องการในเรื่องของความใฝ่ฝัน ความชอบ โดยอาจเลือกลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือก เช่น กระเป๋าแบรนด์เนม ที่ดิน รถยนต์ ตามความชอบ และความต้องการส่วนบุคคลได้

การวางแผนการเงินตามหลักทฤษฎี Maslow ควรเริ่มจากการตรวจสอบความต้องการในแต่ละระดับขั้น และวางแผนการเงินให้เหมาะสม โดยเราควรจัดสรรงบประมาณ เพื่อรองรับความต้องการในแต่ละระดับ ซึ่งการวางแผนการเงินจะเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ช่วยให้เราประสบความสำเร็จ และมีความพึงพอใจในทุกๆ ด้านของชีวิตตามหลักทฤษฎี Maslow นะคะ